วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

 1.JavaScript


JavaScript เป็นภาษายุคใหม่สำหรับการเขียนโปรแกรมบนระบบอินเทอร์เน็ตที่กำลังได้รับความ นิยมอย่างสูง เราสามารถเขียน โปรแกรม JavaScript เพิ่มเข้าไปในเว็บเพจเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับงานด้านต่าง ๆ ทั้งการคำนวณ การแสดงผล การรับ-ส่งข้อมูล และที่ สำคัญคือ สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันทีทันได นอกจากนี้ยังมีความสามารถด้านอื่น ๆ อีกหลายประการที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้ กับเว็บเพจของเราได้อย่างมาก ภาษาจาวาสคริปต์ถูกพัฒนาโดย เน็ตสเคปคอมมิวนิเคชันส์ (Netscape Communications Corporation) โดยใช้ชื่อว่า Live Script ออกมาพร้อมกับ Netscape Navigator2.0 เพื่อใช้สร้างเว็บเพจโดยติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์แบบ Live Wire ต่อมาเน็ตสเคปจึงได้ร่วมมือกับ บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ปรับปรุงระบบของบราวเซอร์เพื่อให้สามารถติดต่อใช้ งานกับภาษาจาวาได้ และได้ปรับปรุง LiveScriptใหม่เมื่อ ปี 2538 แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า JavaScript
ข้อดี :มันเป็นตัวช่วยการทำงานของ html เช่นช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เวลาที่เรากรอกข้อมูลบางอย่างในฟอร์ม เช่น การกรอก username,password

2. ภาษา C และ C++
ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ
ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและ ไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ กับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานทำให้ โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูง อื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันภาษาระดับสูง ทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ (++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก
 ข้อดี: 1.โปรแกรมเมอร์สามารถสร้างโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
2.  ภาษา C และ C++ มีประสิทธิภาพของภาษาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับภาษา Assembly มากที่สุดแต่มีความยืดหยุ่นในยึดติดกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์หรือ Microprocessor รุ่นใดรุ่นหนึ่ง ทำให้สามารถนำโปรแกรมที่สร้างขึ้นไปทำงานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทุกรุ่น
3.ภาษา C++ สนับสนุนการเขียนโปรแกรมในลักษณะเชิงวัตถุหรือ OOP (Object Oriented Programming) ซึ่งเป็นเทคนิคการเขียนโปรแกรมที่นิยมใช้เขียนโปรแกรมขนาดใหญ่ที่มีจำนวนข้อมูลในโปรแกรมมาก

3. ภาษาเพิร์ล หรือ Perl

ภาษาเพิร์ล หรือ Perl  (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์


ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่าง มาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sedและ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.10.0 (ออกเมื่อเดือนธันวาคม 2007) 

            ข้อดีของภาษาเพิร์ล หรือ Perl

1. ง่ายต่อการเรียนรู้ โดยภาษา Perl มีโครงสร้างของภาษาไม่ซับซ้อนเข้าใจง่าย ซึ่งโครงสร้างภาษา Perl จะคล้ายกับภาษา C มาก เพราะภาษา Perl สร้างขึ้นมาโดยใช้ภาษา C ทำให้ผู้ที่คุ้นเคยภาษา C อยู้แล้วใช้งานภาษา Perl ได้ไม่ยาก นอกจากนี้โดยตัวภาษาเองมีความยืดหยุ่นสูงทำให้การจัดการกับงานด้านข้อความ และ Text File ได้เป้นอย่างดี
2. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพราะตัวแปรภาษา Perl อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ GNU
3. ใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม ในช่วงแรกภาษา Perl ถูกออกแบบใช้งานกับระบบ Unix อยู่ก็จริง แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวแปลภาษา Perl ให้สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการอื่นๆ อาทิเช่น Linux, Windows 95/98/ME, Windows NT, Windows 2000, OS/2, Macintosh
4. ภาษา Perl ถูกสร้างขึ้นโดยได้รวบรวมเอาส่วนดีของภาษาต่างๆ เข้ามาไว้ด้วยกัน อาทิเช่น ภาษา C, grep/awk, sh, sed
5. ภาษา Perl เป็นภาษาประเภท Server side Script คือการทำงานของภาษา Perl จะทำงานด้านฝั่ง Server แล้วส่งผลลัพธ์กลับมายัง Client ทำให้มีความปลอดภัยสูง



4.ภาษา PHP
        PHP เป็นภาษาจำพวก scripting language คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่า สคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปรชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น

        ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถสอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น
        ถ้าใครรู้จัก Server Side Include (SSI) ก็จะสามารถเข้าใจการทำงานของ PHP ได้ไม่ยาก สมมุติว่า เราต้องการจะแสดงวันเวลาปัจจุบัน ที่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซด์ในขณะนั้น ในตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่งภายในเอกสาร HTML ที่เราต้องการ อาจจะใช้คำสั่งในรูปแบบนี้
เช่น ไว้ในเอกสาร HTML เมื่อ SSI ของ Web Server มาพบคำสั่งนี้ ก็จะกระทำคำสั่ง date.pl ซึ่งในกรณีนิ้ เป็นสคริปต์ที่เขียนด้วยภาษา perl สำหรับอ่านเวลา จากเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วใส่ค่าเวลาเป็นเอาพุท (output) และแทนที่คำสั่งดังกล่าว ลงในเอกสาร HTML โดยอัตโนมัติ ก่อนที่จะส่งไปยังผู้อ่านอีกทีหนึ่ง

         "อาจจะกล่าวได้ว่า PHP ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อแทนที่ SSI รูปแบบเดิมๆ โดยให้มีความสามารถ และมีส่วนเชื่อมต่อกับเครื่องมือชนิดอื่นมากขึ้น เช่น ติดต่อกับคลังข้อมูลหรือ database เป็นต้น"

         PHP ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1994 จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อมาตามลำดับ เป็นเวอร์ชั่น 1 ในปี 1995 เวอร์ชั่น 2 (ตอนนั้นใช้ชื่อว่า PHP/FI) ในช่วงระหว่าง 1995-1997 และเวอร์ชั่น 3 ช่วง 1997 ถึง 1999 จนถึงเวอร์ชั่น 4 ในปัจจุบัน

         PHP เป็นผลงานท•่เติบโตมาจากกลุ่มของนักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Webserver ระบบปฏิบัติอย่างเช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลายๆตัวบนระบบปฏิบัติการอย่างเช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น

ข้อดี เป็นของฟรี และ Server ที่จะนำเว็บไปฝากถูกมาก

         ในสมัยแรกเว็บเป็นแค่การนำเสนอข้อมูล ผู้เขียนเขียนข้อมูลเหมือนที่ผมกำลังเขียน ส่วนผู้อ่านก็มาอ่าน เราเรียกสมัยนั้นว่า Brochure Web (โบชัวร์ เว็บ) การทำเว็บสมัยก่อนอาศัย HTML และ CSS เพื่อจัดรูปแบบ ใส่รูปให้ดูสวยงาม

          แต่ในยุคนี้ เว็บมีลักษณะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า Web Application เว็บสมัยนี้นอกจากการนำเสนอข้อมูล ยังให้บริการได้ด้วย ยกตัวอย่าง Google ก็ให้บริการค้นหาเว็บ, GMail ก็ให้บริการ eMail, Google App ให้บริการ Word Processing (โปรแกรมพิมพ์งาน), Spread Sheet แบบ Excel ฯลฯ เพื่อทำให้เว็บเป็น Web Application ก็ต้องใช้เครื่องมือ HTML, CSS และ ภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น PHP, ASP.NET, Java ฯลฯ



5. ภาษา ASP.net 

  ASP.NET หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ASP+ ซึ่งเป็นชื่อที่ Microsoft ใช้เรียกในตอนแรก ถือว่าเป็น ASP เวอร์ชั่น ล่าสุดต่อจาก ASP 3.0 แต่คงไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่า ASP.NET พัฒนามาจาก ASP เพราะรูปแบบ และไวยากรณ์ต่างๆ และ ภาษา ที่นำมาใช้งานนั้นต่างจากเดิมแทบทั้งสิ้น แทบจะเรียกได้ว่า ยกเครื่องใหม่ เลยทีเดียว น่าจะพูดได้ว่า ASP.NET เป็นอีก Generation หนึ่งของ ASP มากกว่า เรามาลองดูกันว่าใน ASP.NET นั้นมีอะไรที่แตกต่างจาก ASP รุ่นก่อน ๆบ้าง

1. ใช้ ภาษา ใดๆในการเขียน script ก็ได้ : จากเดิมที่เราสามรถใช้ได้เฉพาะ ภาษา ที่เป็น script อง VBScript และ JScript แต่ใน ASP.NET เราสามารถที่จะใช้ ภาษา ที่มีรูปแบบของ ภาษา เต็มๆ ซึ่ง ในเบื้องต้น มี3 ภาษา คือ C#, VB.NET และ JScript.Net ที่ออกมาเป็น มาตรฐาน แต่ในอนาคต Microsoft มีแผนที่จะเพิ่ม ตัวแปลภาษา ให้ครบ ทุกภาษา

2. มีความยืดหยุ่นใน การเขียนโปรแกรม มากขึ้น : โดยที่เราสามารถใช้ ภาษาในการเขียน ASP.NET ได้มากกว่า 1 ภาษาภายในไฟล์เดียวกัน ทำให้สามารถเลือกรูปแบบของภาษาที่ง่ายที่สุดต่อการเขียน ในแต่ละส่วนได้


3. ลักษณะ การแปลภาษา และ นามสกุล ไฟล์เปลี่ยนไป : ใน ASP เวอร์ชั่นก่อนๆ มีลักษณะ การแปลภาษา เป็นแบบ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คือการจะทำคำสั่งใดค่อยแปลคำสั่งนั้น แต่ในเวอร์ชั่น .NET นี้จะมี ลักษณะเป็น คอมไพเลอร์ (Compiler) คือการแปลคำสั่งรวมทั้ง โปรแกรม นอกจากนี้ นามสกุล ของไฟล์ก็มี การเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่ใช้นามสกุลไฟล์เป็น “ *.asp ” เป็น “ *.aspx ”


4. รูปแบบและการใช้งาน componet ที่ง่ายขึ้น : รูปแบบของ componet จะเน้นไปที่ XML มากที่สุด และที่สำคัญคือการใช้งาน componet ใน ASP.NET นั้นเราสามารถอัพโหลดไฟล์ไปไว้ใน Directory ที่ผู้ดูแล server (Admin) กำหนดหลังจากนั้น componet จะติดตั้งตัวเองโดย อัตโนมัติ ลดปัญหาที่เกิดจาก ASP เวอร์ชั่นก่อนๆได้เป็นอย่างดี เนื่องจากใน ASP เวอร์ชั่นก่อนนั้น การติดตั้ง componet กระทำได้เพียงผู้ดูแล server เพียงคดเดียวเท่านั้น ทำให้เวลาต้องการใช้คอมโพเนนตืต่างๆที่ server ไม่มี จึงเป็นเรื่องที่ลำบาก


5. มี Libraryให้เลือกใช้ได้มากขึ้น : ใน ASP เวอร์ชั่นก่อนๆนั้น Application บางอย่างสร้างได้ไม่สะดวกนัก ต้องอาศัย componet ต่างๆมากมาย แต่ใน ASP.NET นั้นได้เพิ่ม Libraryในส่วนเหล่านี้ให้กลายเป็น พื้นฐาน ของการใช้งาน


6. มี คอนโทรล ทำให้การใช้งานในบางสิ่งง่ายขึ้น : เป็น ส่วนพิเศษ ที่เพิ่มเติมมาจาก ASP รุ่นก่อนๆที่ไม่มีส่วนที่เรียกว่า คอนโทรล ซึ่งคอนโทรลนี้จะช่วยให้เราสามารถ สร้างเว็บไซท์ ได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงไม่ต้องกังวลว่า browser รุ่นนั้นรุ่นนี้จะรองรับกับ ภาษา ที่เราเขียนหรือไม่


7. สามารถเรียกขอข้อมูลจาก server ได้ : ใน ASP เวอร์ชั่นก่อนๆ server สามารถเรียกขอข้อมูลได้จาก เครื่องผู้ใช้ เท่านั้นแต่ใน ASP.NET เครื่อง server สามารถเรียกขอข้อมูลจากเครื่อง server ด้วยกันได้


8. ไม่ต้องต่อ Hardware : เนื่องจากเป็นระบบใน .NET Framework ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติของ Common Languare Runtime (CLR) ทำให้มี การคอมไพล์ โปรแกรม เป็น ภาษามาตรฐาน ที่เรียกว่า IL ก่อน ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเล่นเครื่อง ปาล์ม หรือ โน้ตบุ๊ค PDA ก็ไม่เกิดปัญหา


9. ง่ายต่อการหา ข้อผิดพลาด ใน การเขียนโปรแกรม : หากเป็น ASP รุ่นก่อนเวลาเกิดความผิดพลาด (error) เครื่องจะบอกแค่ว่าเป็น ความผิดพลาด ชนิดใดบรรทัดไหน แต่ใน ASP.NET นี้เครื่องจะแสดงรายละเอียดที่มากขึ้น พร้อมแนวทางแก้ไข


10. มีการ ตรวจสอบ เหตุการณ์ต่างๆได้ภายใน เว็บเพจ : มี การตรวจสอบ เหตุการณ์ ต่างๆ ตั้งแต่โหลด หน้าเว็บเพจ ไปจนถึง ปิดหน้าเว็บ เพจลง ทำให้เราสามารถ เขียนโปรแกรม กำหนดเหตุการณ์ต่างๆได้ง่ายขึ้น


11. แยกส่วนที่เป็น HTML กับ ASP ออกมาอย่างชัดเจน : ใน เวอร์ชั่น ก่อนๆส่วนที่เป็น HTML กับ ASP จะเขียนปนกันไปมา แต่ใน เวอร์ชั่น นี้จะแยกส่วนกันอย่างชัดเจนว่าส่วนไหนเป็น HTML และส่วนไหนเป็น ASP สำหรับใคร ที่อยากจะเริ่มลอง ทำเว็บไซต์ อยากให้ลองใช้ ASP.NET เป็น ภาษาแรก ใน การเขียนโปรแกรม สร้างเว็บไซต์ ดูบ้างนะครับ


                                             นาย ต๋องคำ พรเทวา
                                                         รหัส 5411600294 นักศืกษาปริญญาโท ปีที่ 1 

                                           

                                    









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น